การปะทุครั้งที่สอง: 14 เมษายน ของ การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553

เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553 เอยาฟยาตลาเยอคุตล์ยังคงปะทุขึ้นอีกครั้งหลังจากหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่ง การปะทุครั้งนี้เกิดขึ้นที่ตรงกลางของธารน้ำแข็ง ทำให้อุทกภัยที่เกิดจากน้ำแข็งละลายไหลทะลักลงสู่แม่น้ำที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งอยู่ทั้งสองด้านของภูเขาไฟ และประชาชน 800 คนต้องถูกอพยพจากพื้นที่ ถนนตามแม่น้ำมาร์คาร์ปลีโยตถูกทำลายในหลายพื้นที่[22]

ไม่เหมือนกับการปะทุครั้งก่อนหน้า การปะทุครั้งที่สองเกิดขึ้นที่ใต้น้ำแข็งของธารน้ำแข็ง น้ำเย็นซึ่งเกิดจากการละลายของน้ำแข็งได้ทำให้ลาวาเย็นลงอย่างรวดเร็วและทำให้ลาวาที่แข็งตัวนั้นแตกกลายเป็นแก้ว ทำให้เกิดอนุภาคแก้วขนาดเล็กซึ่งถูกนำพาไปในพวยเถ้าถ่าน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้น ก็ทำให้สายการบินที่ออกจากยุโรปและเข้ามายุโรปต้องปิดลงหลายวัน ประกอบกับขนาดของการปะทุ ซึ่งคาดกันว่ามีขนาดเป็น 10-20 เท่า ของการปะทุที่ฟิมม์เวอร์ดูเฮาลส์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ส่งผลให้เกิดพวยเถ้าถ่านซึ่งมีแก้วเจือปนในปริมาณสูงตกค้างในชั้นบรรยากาศระดับสูง ซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยาน[23]

การปะทุครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553

ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2553 การปะทุยังคงดำเนินต่อไป แต่การระเบิดลดลง โดยพวยเถ้าถ่านพุ่งขึ้นสูงขึ้นไปในอากาศ 5 กิโลเมตร ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ 13 กิโลเมตร ของการปะทุครั้งที่ผ่านมา และไม่ขึ้นไปสูงพอที่ลมจะพัดพาไปทั่วทวีปยุโรป[24] การพยากรณ์เมื่อวันที่ 18 เมษายน เวลา 6.00 น. ได้แสดงให้เห็นถึงพวยเถ้าถ่านซึ่งยังแพร่กระจายไปทั่วยุโรปเหนือ[25]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 http://www.skybrary.aero/index.php/Volcanic_Ash http://www.fotopedia.com/en/2010_eruptions_of_Eyja... http://www.life.com/image/first/in-gallery/41852/e... http://vimeo.com/11008464 http://www.dmu.dk/International/News/vulcanicplume... http://www.geo.mtu.edu/volcanoes/hazards/primer/te... http://cimss.ssec.wisc.edu/goes/blog/archives/4872 http://earthobservatory.nasa.gov/NaturalHazards/ev... http://www.nasa.gov/topics/earth/features/iceland-... http://www.noaa.gov/features/03_protecting/volcani...